ประวัติโรงเรียนวัดท่าพูด(นครผลประชานุกูล) เมื่อครั้งที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราชเจ้าเป็นอง๕ประธานจัดวัดเป็นโรงเรียน ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๕๑ ชุมชนของวัดท่าพูดได้มีการเรียนการสอนเกิดขึ้นบนศาลาการเปรียญในสมัยนั้น เป้นต้นมา โดยมีครู ๓ คน คือ ครูเทียม(ไม่ทราบนามสกุล) ครูแก้ว ประสิทธิวงษ์ และครูคลี่ (พรม) สงกา เป็นครูใหญ่ปี พ.ศ.๒๔๖๔ ทางราชได้ประกาศใช้การศึกษาภาคบังคับขึ้น พระแช่ม อธิการรองได้จัดให้มีการเรียนการสอนขึ้นที่ศาลาการเปรียญของวัดท่าพูดอย่างเป็นทางการ และให้ชื่อโรงเรียนว่า "โรงเรียนประชาบาลตำบลไร่ขิง ๑ วัดท่าพูด" โดยมรนายคลี่ (พรม) สงกา เป็นครูใหญ่ พ.ศ. ๒๔๘๑ พระปลัดผล เจ้าอาวาสวัดท่าพุด ได้อนุญาติให้ใช้ที่ดินส่วนหนึ่งของวัดจัดสร้างโรงเรียน ได้รับความร่วมมือจากขุนนครรัฐเขตต์นายอำเภอสามพราน และประชาชนสร้างอาคารแบบเรียน ๒ ชั้น ให้ชื่อโรงเรียนว่า "โรงเรียนวัดท่าพูด (นครผลประชานุกูล)" นายคลี่ สงกา เป็นครุใหญ่ พ.ศ.๒๕๐๗ พระครูพิศาลสาธุวัฒน์ เจ้าอาวาสวัดท่าพูด นายเอื้อน วาราชนนท์ ครูใหญ่ได้นำไม้เก่าอาคารเรียนชั้น ๒ ซึ่งชำรุดทรุดโทรมมาสร้างอาคารเรียนแบบ ชั้นเดียวขึ้น ในปี พ.ศ.๒๕๑๒ ได้นำเงินจากการทอดกฐิน นำมาสร้างอาคารเรียนเป็นหลังที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๑๗ ทางราชการให้งบประมาณส่วนหนึ่งและได้รับความอุปถัมภ์จาก พระครูพิศาลสาธุวัฒน์ รวมทั้งประชาชนร่วมกันจัดสร้างอาคารเรียนแบบ ๒ ชั้น ๑๖ ห้องเรียนเป็นหลังที่ ๓ โดยนายบุญธรรม ชนประชา เป็นครูใหญ่ พ.ศ.๒๕๓๘ พระครูพิศาลสาธุวัฒน์ นายบุญธรรม ชนประชา ผู้อำนวยการโรงเรียน คณะครู ไวยาวัจกรวัด และประชาชน ได้ร่วมกันหาผู้บริจาคสร้างอาคารเรียนแบบรัตนโกสินทร์สมโภชเป็นตึก ๔ ชั้น ๒๔ห้องเรียน ใช้ชื่ออาคารว่า "อาคารพิศาลสาธุวัฒน์ (สังเวียน-ประชาอุปถัมภ์)" สิ้นค่าก่อสร้าง ๑๒๐๐๐๐๐ บาท สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๐ โดยนายปราโมทย์ นิพนธ์พิทยา เป็นผู้อำนวยการ ปัจจุบันเกิดการเรียนการสอน ตั้งแต่ชั้นอนุบาลจนถึงมัธยมศึกษาปีที่ ๓ มีนักเรียน ๑๖๐๐ คน ข้าราชการ ๕๗ คน ภารโรง ๑ คนโดยนายสุวรรณ เรือนอิทร์ เป็นผู้อำนวยการสถานศึกษา
เขียนโดยadmin
เมื่อ 31 December 2006 15:23
| 2146 อ่านแล้ว ·
|
|